การกระจัดและความดันของตัวกลาง
เสียงเป็นคลื่นความดัน (Pressure Wave) จะต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศ
ของแข็งหรือของเหลว แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสุญญากาศได้
คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นของวัตถุ ความถี่ของเสียงจะมีค่าเท่ากับความถี่ของแหล่งกำเนิด และในขณะที่มี การสั่น โมเลกุลของตัวกลางจะมีการถ่ายทอดพลังงานทำให้เกิดความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่ง ทำให้เกิดเป็นช่วงอัด และ ช่วงขยาย
โดยที่ช่วงอัดคือบริเวณที่อนุภาคของตัวกลางอัดเข้าหากัน บริเวณนี้มีจะมีความดันสูงสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่ง สมดุลของอนุภาค โดยการกระจัดของอนุภาคน้อยที่สุด ส่วนช่วงขยายคือบริเวณที่อนุภาคตัวกลางแยกห่างจากกัน บริเวณนี้มีความดัน ต่ำสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่งสมดุลของอนุภาค การกระจัดของอนุภาคมากที่สุด
ตามรูปด้านบน
จะสังเกตได้ว่ากราฟทั้ง 2 จะมีเฟสต่างกัน 90° โดยมีสิ่งที่น่าสนใจ
2 ประการคือ
1. ณ ตำแหน่งความดันสูง ( Pmax ) และตำแหน่งความต่ำสุด ( Pmin ) จะมี
การกระจัด เท่ากับ 0
2.
ถ้าโมเลกุลเปลี่ยนตำแหน่งไปทางขวา
การกระจักจะมีค่าเป็นบวก และถ้าเปลี่ยนตำแหน่งไปทางซ้าย การกระจัดจะติดลบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น