วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


การแทรกสอด

         เนื่องจากคลื่นเสียงมีลักษณะแตกต่างจากคลื่นบนผิวน้ำ เพราะจะมีลักษณะการเคลื่อนที่เหมือนกับคลื่นจากการยืดหดของขดลวดสปริง ในขณะที่ผิวน้ำจะแกว่งตัวขึ้นลงเวลาที่คลื่นผิวน้ำเคลื่อนตัวผ่านไป ซึ่งการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงจะอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางความกดดันระหว่างอนุภาคในตัวกลางนั่นเอง โดยจะมีทั้งส่วนอัด (Compression) และส่วนขยาย (Rarefaction) ซึ่งสามารถเทียบได้กับส่วนยอดคลื่น (Crest) และท้องคลื่น (Trough) ของคลื่นบนผิวน้ำนั่นเอง


        เมื่อมีคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่งเคลื่อนที่ไปพบกันจะทำให้เกิดการรวมกันของคลื่นเป็นคลื่นลัพธ์ซึ่งมี  2 ลักษณะ คือ รวมกันแบบเสริมกันหรือหักล้างกัน ตำแหน่งที่คลื่นรวมกันแบบเสริมกันเรียกว่า ปฏิบัพ (Antinode) ซึ่งตำแหน่งนี้เสียงจะดัง และตำแหน่งที่คลื่นรวมกันแบบหักล้างกัน เรียกว่า บัพ (Node) ซึ่งตำแหน่งนี้เสียงจะเบา



รูปการแทรกสอดของคลื่นเสียงทำให้เกิดแนวปฏิบัพและแนวบัพ

         การรวมคลื่นเสียงแบบหักล้างทำให้เสียงค่อยลงหรือไม่ได้ยินเลยเป็นหลักการสำคัญของเทคโนโลยีการลดเสียงรบกวน ที่ครอบหูป้องกันเสียงดังของนักบินสร้างคลื่นเสียงที่เหมือนกับภาพสะท้อนของเสียงออกมาเพื่อหักล้างเสียงรบกวน จนทำให้นักบินในห้องเครื่องปลอดภัยจากเสียงรบกวน และการออกแบบท่อไอเสียรถยนต์ให้หักล้างกับเสียงจากท่อระบายอากาศในเครื่องยนต์ได้ท่อไอเสียที่แบบเก็บเสียง

         สำหรับสูตรการคำนวณเรื่องการแทรกสอดของคลื่นเสียงนั้น ก็เหมือนกับสูตรการคำนวณที่เคยกล่าวถึงในเรื่องการแทรกสอดของคลื่นทุกประการ ดังนี้



สำหรับแนวปฏิบัพ(เสียงดัง)



สำหรับแนวบัพ(เสียงเบา)



ข้อควรจำ

1.ถ้าแหล่งกำเนิดมีเฟสตรงข้ามกัน และเป็นคลื่นอาพันธ์ เงื่อนไขการแทรกสอดจะตรงข้ามกับที่มีเฟสตรงกัน
2.การแทรกสอดของเสียง จากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ จะเกิดคลื่นนิ่งของเสียง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น