วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลื่นเสียง

     การเกิดเสียงนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การตีสิ่งของ  การเล่นดนตรี การกระทบกัน หรือการเปล่งเสียงออกจากลำคอ   หากลองสังเกตดีๆเราจะพบว่าการเกิดเสียงมีวิธีที่แตกต่างกันอีกมากมาย แหล่งกำเนิด( สิ่งของ,วัสดุ,ฯลฯ ) ต่างชนิดต่างประเภทกัน ก็จะให้เสียงต่างกัน อย่างเช่นเราใช้ไม้ตีเหล็ก และใช้ไม้อันเดียวกันตีแก้ว เสียงที่ได้จากเหล็กและจากแก้วก็แตกต่างกัน




       ไม่ว่าเสียงจะเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใดก็แล้วตาม แต่แท้จริงแล้วสิ่งสำคัญ คือ
-  เสียงจะต้องเกิดจากการสั่น ของแหล่งกำเนิด เสมอ***
- พลังงานกลที่ได้จากการสั่น จะเปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง
- ความรุนแรงของการสั่น มีผลต่อความดังของเสียง

        พลังงานเสียงที่แผ่ออกจากแหล่งกำเนิด จะเคลื่อนที่มายังหูของผู้ฟังได้นั้น ต้องอาศัยตัวกลาง เพราะคลื่นเสียงเป็นคลื่นกลชนิดหนึ่งโดยแนวการสั่นของตัวกลางจะขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง หรือเรียกว่า คลื่นตามยาว

คลื่นเสียง เป็นคลื่นกลชนิดหนึ่ง" 
เป็นคลื่นตามยาว และต้องอาศัยตัวกลาง ในการเคลื่อนที่ 



ความเข้มเสียง (Intensity)

          ความเข้มเสียง (Intensity) เป็นตัวกำหนดค่าความดังของเสียง มีค่าขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของคลื่น ซึ่งมีค่าเท่ากับ พลังงานของเสียงที่ตกตั้งฉากกับพื้นที่หนึ่งตารางหน่วยในเวลาหนึ่งวินาที



จาก    I = E/AT = P/A = P/4 πR2

          I   =  ความเข้มเสียง (วัตต์/ตารางเมตร) 
          E =  พลังงานเสียง (จูล)
          A =  พื้นที่รองรับ (ตารางเมตร)
          t =  เวลา (วินาที)
          P =  กำลังเสียงที่ส่งออกมาจากแหล่งกำเนิด (วัตต์)
          R =  รัศมีของทรงกลม (เมตร)
          
 
           จากสมการจะเห็นได้ว่า  I α P/R2 หรือ I α P และ I α 1/R2
โดยที่ ความเข้มต่ำสุดที่มนุษย์สามารถได้ยิน มีค่า
10-12 วัตต์/ตารางเมตร และ ความเข้มสูงสุดที่มนุษย์สามารถทนได้ มีค่า 1 วัตต์/ตารางเมตร      


ระดับความเข้มเสียง 
                  
              คือ ปริมาณที่ใช้บอกความดังของเสียง โดยเทียบความเข้มเสียงที่ต้องการวัดกับความเข้มเสียงที่ค่อยที่สุดที่คนปกติได้ยิน

ฉะนั้น จะได้ว่า 

**เสียงดังสุดที่คนทนฟังได้ มีระดับความเข้ม 120 dB
    เสียงค่อยสุดที่คนรับฟังได้ มีระดับความเข้ม 0 dB


คลื่นบีตส์ (Beats)

        เป็นปรากฏการณ์แทรกสอดของคลื่นเสียงสองขบวนที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดกลุ่มคลื่นที่เสริมกันและหักล้างกันเป็นช่วงๆ โดยส่วนคลื่นที่เสริมกันจะมีเสียงดัง ส่วนคลื่นที่หักล้างกันจะมีเสียงเบา และกลุ่มคลื่นที่เสริมกันและหักล้างกันจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ที่รับฟังที่อยู่นิ่งๆได้ยินเสียงดังสลับค่อย




     ความถี่ของคลื่นลัพธ์ที่ได้ยิน

ความถี่บีสต์ (fBeat  



              จำนวนครั้งที่ได้ยินเสียงดังหรือเบาใน 1 วินาที (ครั้ง/วินาที)
     
 
              
ผลต่างของความถี่ทั้งสอง    ( fBeat = |f1-f2| )    


คลื่นนิ่งและการสั่นพ้องของคลื่นเสียง 

    เมื่อคลื่นเสียงสองขบวนเคลื่อนที่สวนทางกัน จะเกิดการรวมกันของคลื่น มีผลทำให้คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นปรากฏตำแหน่งบัพ (หักล้างกันตลอดเวลา) และปฏิบัพ (เสริมกันตลอดเวลา) สลับกันไปเรื่อยๆ
คลื่นนิ่งที่เกิดจากการสะท้อนภายในท่อปลายเปิดและปลายปิด
       * ถ้าเป็นปลายปิด ด้านปลายปิดของท่อจะเป็นการสะท้อนให้เฟสตรงข้ามจุดสะท้อนจะเป็นตำแหน่งบัพของการกระจัด หรือ ปฏิบัพของความดัน
       *
ถ้าเป็นปลายเปิด ด้านปลายเปิดของท่อจะเป็นการสะท้อนให้เฟสตรงกันจุดสะท้อนจะเป็นตำแหน่งปฏิบัพของการกระจัด หรือ บัพของความดัน         
     โดยปรากฏการณ์สั่นพ้อง (Resonance) ของคลื่นเสียงในท่อ จะต้องทำให้เกิดเสียงดังมากกว่าปกติ แปลว่า ด้านใดด้านหนึ่งของทั้งท่อปลายเปิดและปลายปิดจะต้องเป็นตำแหน่งปฏิบัพเสมอ ถ้าหากเกิดปรากฏการณ์สั่นพ้องขึ้น
การสั่นพ้องของท่อปลายปิด
ความยาวท่อ (L) คงที่ ความถี่ (f) เปลี่ยน
    
เนื่องจากภายในท่อปลายปิดทุกท่อเป็นตัวกลางที่เป็นอากาศเหมือนกันหมด ดังนั้น ความเร็วเสียง (v) ภายในท่อทุกท่อย่อมเท่ากัน
    
ให้ความยาวท่อคงที่ แต่ค่อยๆเพิ่มความถี่ของเสียงขึ้น


fต่อไป =  คี่เท่า . f มูลฐาน

 fติดกัน = 2.fมูลฐาน

*ความถี่ต่อไปที่สามารถเกิดการสั่นพ้อง = คี่เท่าของความถี่มูลฐาน 
และ   
* ฮาร์มอนิก = 2 เท่าของโอเวอร์โทน + 1
H = 2O + 1



การสั่นพ้องของท่อปลายเปิด
ความยาวท่อ (L) คงที่ ความถี่ (f) เปลี่ยน
     ลักษณะเดียวกับท่อปลายปิดภายในท่อทุกท่อเป็นตัวกลางอากาศเหมือนกันหมด ดังนั้น ความเร็วเสียง (
v) ภายในท่อทุกท่อย่อมเท่ากัน
     ให้ความยาวท่อคงที่ แต่ค่อยๆเพิ่มความถี่ของเสียงขึ้น


f
ต่อไป =  จำนวนเต็มเท่า . f มูลฐาน  

fติดกัน = fมูลฐาน


*ความถี่ต่อไปที่สามารถเกิดการสั่นพ้อง = จำนวนเต็มเท่าของความถี่มูลฐาน
 
 และ         

* ฮาร์มอนิก = โอเวอร์โทน + 1
H = O + 1

   
การสั่นพ้องหรือการกำทอน  (Resonance)
          ในการสั่นตัวของวัตถุทุกชนิด ถ้าวัตถุไม่ได้รับแรงภายนอกมากระทำวัตถุจะสั่นตัวในความถี่คงที่ ค่าหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่า 
ความถี่ธรรมชาติ (Natural frequency)โดยความถี่ธรรมชาติของวัตถุแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน เช่น
                 ความถี่ธรรมชาติของลูกตุ้มนาฬิกา
                            
           
                    ความถี่ธรรมชาติของมวลผูกติดสปริง

                              

           แต่ถ้าหากระบบกำลังสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่ง เมื่อถูกรบกวนด้วยระบบอีกตัวหนึ่งซึ่งมีความถี่ในการสั่นเท่ากับความถี่ธรรมชาติของระบบแรกพอดี ระบบจะเกิดการสั่นตัวที่รุนแรงขึ้น แอมพลิจูดมากขึ้น จะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การสั่นพ้องนั่นเอง

การแทรกสอด

         เนื่องจากคลื่นเสียงมีลักษณะแตกต่างจากคลื่นบนผิวน้ำ เพราะจะมีลักษณะการเคลื่อนที่เหมือนกับคลื่นจากการยืดหดของขดลวดสปริง ในขณะที่ผิวน้ำจะแกว่งตัวขึ้นลงเวลาที่คลื่นผิวน้ำเคลื่อนตัวผ่านไป ซึ่งการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงจะอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางความกดดันระหว่างอนุภาคในตัวกลางนั่นเอง โดยจะมีทั้งส่วนอัด (Compression) และส่วนขยาย (Rarefaction) ซึ่งสามารถเทียบได้กับส่วนยอดคลื่น (Crest) และท้องคลื่น (Trough) ของคลื่นบนผิวน้ำนั่นเอง


        เมื่อมีคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่งเคลื่อนที่ไปพบกันจะทำให้เกิดการรวมกันของคลื่นเป็นคลื่นลัพธ์ซึ่งมี  2 ลักษณะ คือ รวมกันแบบเสริมกันหรือหักล้างกัน ตำแหน่งที่คลื่นรวมกันแบบเสริมกันเรียกว่า ปฏิบัพ (Antinode) ซึ่งตำแหน่งนี้เสียงจะดัง และตำแหน่งที่คลื่นรวมกันแบบหักล้างกัน เรียกว่า บัพ (Node) ซึ่งตำแหน่งนี้เสียงจะเบา



รูปการแทรกสอดของคลื่นเสียงทำให้เกิดแนวปฏิบัพและแนวบัพ

         การรวมคลื่นเสียงแบบหักล้างทำให้เสียงค่อยลงหรือไม่ได้ยินเลยเป็นหลักการสำคัญของเทคโนโลยีการลดเสียงรบกวน ที่ครอบหูป้องกันเสียงดังของนักบินสร้างคลื่นเสียงที่เหมือนกับภาพสะท้อนของเสียงออกมาเพื่อหักล้างเสียงรบกวน จนทำให้นักบินในห้องเครื่องปลอดภัยจากเสียงรบกวน และการออกแบบท่อไอเสียรถยนต์ให้หักล้างกับเสียงจากท่อระบายอากาศในเครื่องยนต์ได้ท่อไอเสียที่แบบเก็บเสียง

         สำหรับสูตรการคำนวณเรื่องการแทรกสอดของคลื่นเสียงนั้น ก็เหมือนกับสูตรการคำนวณที่เคยกล่าวถึงในเรื่องการแทรกสอดของคลื่นทุกประการ ดังนี้



สำหรับแนวปฏิบัพ(เสียงดัง)



สำหรับแนวบัพ(เสียงเบา)



ข้อควรจำ

1.ถ้าแหล่งกำเนิดมีเฟสตรงข้ามกัน และเป็นคลื่นอาพันธ์ เงื่อนไขการแทรกสอดจะตรงข้ามกับที่มีเฟสตรงกัน
2.การแทรกสอดของเสียง จากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ จะเกิดคลื่นนิ่งของเสียง




มุมวิกฤต ( Cricital Angleθc  )

          มุมวิกฤต คือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหมีค่า 90 °C
การเกิดมุมวิฤต ต้องเกิดจากการที่คลื่น เคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความเร็วน้อย ไปยังตัวกลางที่มีความเร็วมาก โดยไม่ตกตั้งฉากกับรอยต่อ จะทำให้เกิดการหักเหแบบเบนออก ตามรูป


จากสมการ  

เมื่อ    θ1 =  θc   และ   θ2 = 90 °C




         การสะท้อนกลับหมด จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดการหักเหแบบเบนออก และมีมุมตกกระทบมากกว่ามุมวิกฤต โดยในเรื่องของคลื่นเสียง ตัวอย่างการสะท้อนกลับหมด ที่ปรากฏในธรรมชาติ คือการที่บางที่เห็นฟ้าแลบ แต่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง เพราะในชั้นบรรยากาศจะมีอุณหภูมิไม่เท่ากัน บริเวณที่ใกล้พื้นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่า ทำให้เสียงที่เดินทางจากด้านบนลงมาเกิดการหักเหแบบเบนออกมาเรื่อยๆ จนเกิดการสะท้อนกลับหมดในที่สุด
สูตรการหักเห ของคลื่นเสียง


จากรูป จะได้ว่า
         sinθ1  =  λ1
        sinθ2  =   λ2

จะได้ว่า 


*** T  ใช้ได้ก็ต่อเมื่อ เสียงเดินทางจากอากาศ ไปยังอากาศ แต่อุณหภูมิของอากาศจะต่างกัน
 การหักเหของคลื่นเสียง (Refraction)

         การหักเหของคลื่นเสียง เกิดจากการที่คลื่นเสียงมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วหรือเกิดจากการที่คลื่นเสียงมีการเปลี่ยนแปลงตัวกลางในการเคลื่อนที่ โดยจะมีเงื่อนไขเป็นไปตามกฎของสเนลล์ ( Snell’s law ) และหากไม่ใช่กรณีที่คลื่นเสียงตกตั้งฉากกับรอยต่อ
จะเกิดการหักเห 2 แบบ คือ
 1. เสียงเดินทางจาก ตัวกลางที่มีวามเร็วมาก ไปยังตัวกลางที่มีความเร็วน้อย ทิศทางจะเบนเข้าหาเส้นปกติ 
     (θ1 θ2)  ดังรูปต่อไปนี้

2. เสียงเดินทางจาก ตัวกลางที่มีวามเร็วน้อย ไปยังตัวกลางที่มีความเร็วมาก ทิศทางจะเบนออกจากหาเส้นปกติ 


     (θ1 < θ2)  ดังรูปต่อไปนี้