วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลื่นนิ่งและการสั่นพ้องของคลื่นเสียง 

    เมื่อคลื่นเสียงสองขบวนเคลื่อนที่สวนทางกัน จะเกิดการรวมกันของคลื่น มีผลทำให้คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นปรากฏตำแหน่งบัพ (หักล้างกันตลอดเวลา) และปฏิบัพ (เสริมกันตลอดเวลา) สลับกันไปเรื่อยๆ
คลื่นนิ่งที่เกิดจากการสะท้อนภายในท่อปลายเปิดและปลายปิด
       * ถ้าเป็นปลายปิด ด้านปลายปิดของท่อจะเป็นการสะท้อนให้เฟสตรงข้ามจุดสะท้อนจะเป็นตำแหน่งบัพของการกระจัด หรือ ปฏิบัพของความดัน
       *
ถ้าเป็นปลายเปิด ด้านปลายเปิดของท่อจะเป็นการสะท้อนให้เฟสตรงกันจุดสะท้อนจะเป็นตำแหน่งปฏิบัพของการกระจัด หรือ บัพของความดัน         
     โดยปรากฏการณ์สั่นพ้อง (Resonance) ของคลื่นเสียงในท่อ จะต้องทำให้เกิดเสียงดังมากกว่าปกติ แปลว่า ด้านใดด้านหนึ่งของทั้งท่อปลายเปิดและปลายปิดจะต้องเป็นตำแหน่งปฏิบัพเสมอ ถ้าหากเกิดปรากฏการณ์สั่นพ้องขึ้น
การสั่นพ้องของท่อปลายปิด
ความยาวท่อ (L) คงที่ ความถี่ (f) เปลี่ยน
    
เนื่องจากภายในท่อปลายปิดทุกท่อเป็นตัวกลางที่เป็นอากาศเหมือนกันหมด ดังนั้น ความเร็วเสียง (v) ภายในท่อทุกท่อย่อมเท่ากัน
    
ให้ความยาวท่อคงที่ แต่ค่อยๆเพิ่มความถี่ของเสียงขึ้น


fต่อไป =  คี่เท่า . f มูลฐาน

 fติดกัน = 2.fมูลฐาน

*ความถี่ต่อไปที่สามารถเกิดการสั่นพ้อง = คี่เท่าของความถี่มูลฐาน 
และ   
* ฮาร์มอนิก = 2 เท่าของโอเวอร์โทน + 1
H = 2O + 1



การสั่นพ้องของท่อปลายเปิด
ความยาวท่อ (L) คงที่ ความถี่ (f) เปลี่ยน
     ลักษณะเดียวกับท่อปลายปิดภายในท่อทุกท่อเป็นตัวกลางอากาศเหมือนกันหมด ดังนั้น ความเร็วเสียง (
v) ภายในท่อทุกท่อย่อมเท่ากัน
     ให้ความยาวท่อคงที่ แต่ค่อยๆเพิ่มความถี่ของเสียงขึ้น


f
ต่อไป =  จำนวนเต็มเท่า . f มูลฐาน  

fติดกัน = fมูลฐาน


*ความถี่ต่อไปที่สามารถเกิดการสั่นพ้อง = จำนวนเต็มเท่าของความถี่มูลฐาน
 
 และ         

* ฮาร์มอนิก = โอเวอร์โทน + 1
H = O + 1

   
การสั่นพ้องหรือการกำทอน  (Resonance)
          ในการสั่นตัวของวัตถุทุกชนิด ถ้าวัตถุไม่ได้รับแรงภายนอกมากระทำวัตถุจะสั่นตัวในความถี่คงที่ ค่าหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่า 
ความถี่ธรรมชาติ (Natural frequency)โดยความถี่ธรรมชาติของวัตถุแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน เช่น
                 ความถี่ธรรมชาติของลูกตุ้มนาฬิกา
                            
           
                    ความถี่ธรรมชาติของมวลผูกติดสปริง

                              

           แต่ถ้าหากระบบกำลังสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่ง เมื่อถูกรบกวนด้วยระบบอีกตัวหนึ่งซึ่งมีความถี่ในการสั่นเท่ากับความถี่ธรรมชาติของระบบแรกพอดี ระบบจะเกิดการสั่นตัวที่รุนแรงขึ้น แอมพลิจูดมากขึ้น จะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การสั่นพ้องนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น